วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ถาม – ตอบ เรื่องทันตาภิบาล 4 ปี



ตอบคำถามโดย ทันตแพทย์ ศิริชัย ชูประวัติ


1.ทันตาภิบาล 2 ปี จะเปลี่ยนมาเป็นทันตาภิบาล 4 ปี ต้องทำอย่างไรคะ ?

> ต้องมีหลักสูตรทันตาภิบาล 4 ปีก่อน จึงจะตอบได้ว่า "ต้องทำอย่างไร?" เพราะการทำหลักสูตรต่อเนื่อง จากประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือจากประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)ไปเป็นปริญญาตรีนั้น ไม่ใช่เรื่องทางคณิตศาสตร์ที่จะเอาตัวเลขมาบวกกันแล้วได้อย่างที่ต้องการคือได้ปริญญาตรี จะต้องมีหลักสูตรปริญญาตรีสาขานั้นขึ้นมาก่อน แล้วจึงมาดูว่าวุฒิเดิมที่เรียน มานั้นเรียนอะไรมาบ้าง ขาดอะไรอีกบ้างที่หลักสูตรปริญญาตรีกำหนดไว้แล้วยังไม่ได้เรียนมา จึงจะมาจัดทำหลักสูตรต่อเนื่องให้แก่ผู้ที่จบหลักสูตร ปวช.ว่าจะต้องเรียนอะไรเพิ่มบ้าง ใช้เวลา เรียนกี่ภาคการศึกษา การจัดทำหลักสูตรต่อเนื่องให้แก่ผู้ที่จบปวส.ก็จะเป็นทำนองเดียวกัน ผู้ที่จบทันตาภิบาลหลักสูตร 4 ปี (จะเรียกชื่อปริญญาว่าอะไร ต้องรอให้หลักสูตรเสร็จก่อน)นั้น น่า จะกำหนดเป็นนักวิชาการสาธารณสุขสาขาหนึ่งในอนาคต ก็ต้องดูต่อไปด้วยว่าตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขสาขาหนึ่งในอนาคตดังกล่าว ผู้มีวุฒิอะไรบ้างที่จะลงตำแหน่งนี้ได้ เช่นวุฒิทันตาภิบาล 4 ปี หรือวุฒิประกาศนียบัตรทันตาภิบาล + ปริญญาตรีด้านสุขศึกษา หรือ ประกาศนียบัตรทันตาภิบาล + ด้านสาธารณสุข หรือ ประกาศนียบัตรทันตาภิบาล + หลักสูตรต่อเนื่อง (เหมือนกับพยาบาลเทคนิคเรียนหลักสูตรต่อเนื่องเป็นพยาบาลวิชาชีพ)เป็นต้น

2. ใน 6 ปี ข้างหน้า ทันตาภิบาลจะไม่ได้เรียน nerve block แล้ว ไม่เน้นการรักษาแต่จะทำงานวิจัยได้เก่งขึ้น ซึ่งตรงกับระเบียบที่ออกมาว่า ให้ทันตาภิบาลรักษาได้เฉพาะเด็กและฟันที่ทำง่ายๆเท่านั้น การทำงานจะออกมาคล้าย oral hygienist ทำงานเชิงรุกในชุมชนได้มากขึ้น แล้วในส่วนของงานรักษาซึ่งยังคงเป็นความต้องการและความคาดหวังของประชาชน เดิมทันตาภิบาลก็แบ่งเบาคนไข้ ช่วยทันตแพทย์ทำงานรักษาอยู่ด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ขาดแคลนทันตแพทย์ ต่อไปใครจะช่วยทันตแพทย์ทำงานรักษาคนไข้ค่ะ ?

> จากคำถามที่ว่า "...ในงานรักษาซึ่งเดิมทันตาภิบาลก็แบ่งเบาคนไข้ ช่วยทันตแพทย์ทำงานรักษาอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ ขาดแคลนทันตแพทย์ ต่อไปใครจะช่วยทันตแพทย์ทำงานรักษาคนไข้ค่ะ ?"

เราควรจะมาตั้งสติแล้วถอยออกมาจากยูนิตทำฟัน ถอยออกมาจากห้องทันตกรรมแล้วดูภาพกว้างกันว่า ปัจจุบันนี้งานรักษา ทันตาภิบาลช่วยทันตแพทย์ในการรักษาคนไข้จริงหรือ ทันตาภิบาลทำการรักษาคนไข้ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามที่กฏหมายวิชาชีพทันตกรรมบัญญัติไว้ในมาตรา 24(8) จริงหรือ หรือทันตาภิบาลรักษาคนไข้โดยทันตาภิบาลเอง การที่ทันตาภิบาลให้การตรวจฟันและอวัยวะในช่องปาก วินิจฉัยโรค และให้การรักษาโดยตัวทันตาภิบาลเองทั้งหมด เรียกว่า ช่วยทันตแพทย์ทำงานรักษาใช่หรือไม่ ?

ความจริงคือทันตาภิบาลให้การรักษาคนไข้โดยตัวทันตาภิบาลเอง หลายคนรักษาคนไข้ก่อนที่จะมีทันตแพทย์มาอยู่ในโรงพยาบาลเสียอีก ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิด เพราะทันตาภิบาลสามารถทำงานรักษาได้ ตามที่กฎหมายรองรับคือ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข

ทีมงานทันตสาธารณสุข ปัจจุบันมีทันตบุคลากรอยู่ 4 ประเภทคือ ทันตแพทย์,ทันตาภิบาล,ผู้ช่วยทันตแพทย์,และ
ช่างทันตกรรม หากมองงานสาธารณสุขโดยรวมจะประกอบด้วย
- การส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพดี
- การป้องกันโรคเพื่อไม่ให้เป็นโรค เมื่อป้องกันไม่ได้ เกิดเป็นโรคขึ้นก็ให้การรักษาโรค
- หลังการรักษาโรคหากมีวิการ (Defect) วิการรูป (Deformity) หรือพิการ / ทุพพลภาพ (Handicap) ขึ้น ก็ให้การกายภาพบำบัด หรือฟื้นฟูสภาพ (ใส่เเขนเทียม / ขาเทียม)

ซึ่งในแต่ละด้านดังกล่าวจะมีนักวิชาการแต่ละสาขาหรือแต่ละวิชาชีพรับผิดชอบ นักวิชาการ แต่ละสาขาจะปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบของตนเสริมกันภายใต้การนำของหัวหน้าทีมงานสาธารณสุขระดับจังหวัดคือ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด งานทันตสาธารณสุขก็เช่นเดียวกัน จะประกอบด้วย งานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก , งานป้องกันโรคในช่องปาก , งานรักษา ,งานฟื้นฟูสภาพช่องปาก และใบหน้า

จากการปฏิบัติงานประจำที่ทันตบุคลากรกระทำอยู่เป็นกิจวัตรในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า งานด้านส่งเสริมสุขภาพช่องปากและด้านป้องกันโรคในช่องปาก ทีมงาน ทันตสาธารณสุขเรากำหนด ขอบเขตความรับผิดชอบไม่ชัดเจน งานทันตสาธารณสุขยังยึดถือปฏิบัติเหมือนกับที่เคยทำ มาตั้งแต่ยังไม่มีโครงการทันตแพทย์คู่สัญญาฯ หรือยังไม่มีทันตแพทย์อยู่ในโรงพยาบาลชุมชน ยังคงให้ทันตาภิบาลทำงานรักษา และ ยังมีความคิดเหมือนกับว่า จะให้ทันตาภิบาลทำการรักษา ,ส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในช่องปากต่อไปอีกเรื่อยๆ




ขณะที่ข้อเท็จจริงโดยหลักการแล้ว

ผู้ที่ช่วยงานทันตแพทย์ทำการรักษาคือ ผู้ช่วยทันตแพทย์ , ผู้ที่ช่วยงานทันตแพทย์ทำงานด้านฟื้นฟูสภาพในช่องปากคือ ช่างทันตกรรม และผู้ที่ช่วยงานทันตแพทย์ทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพช่องปาก (การให้ความรู้) การให้การป้องกันโรคในช่องปากเป็นหน้าที่รับผิดชอบของ ทันตาภิบาล (ตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งโรงเรียนทันตาภิบาล)

ส่วนเรื่องการรักษาโดยตรงนั้น จะต้องเป็นหน้าที่ของทันตแพทย์ที่ได้รับการเรียนการสอนมาให้ลักษณะ clinical base หรือ Hospital base อีกทั้งการรักษาในลักษณะ Invasive ในปัจจุบันนี้มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเพราะคนมีโรคทางระบบซ่อนอยู่โดยที่ตัวคนป่วยเองก็ไม่ทราบ หรือเพราะผู้ป่วยคาดหวังบริการที่สูง ฯลฯ ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดสิ่งไม่พึงประสงค์ขึ้นจากบริการด้านสุขภาพ หรือความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องมีสูงตามไปด้วย ความเสี่ยงเหล่านี้ได้รับการตอบแทนในลักษณะการให้ค่าตอบแทนที่สูงจากราชการแล้ว ทันตแพทย์จบใหม่ที่เข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันจะได้รับค่าตอบแทนซึ่งประกอบด้วยเงินเดือน เงินไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว เงินค่าทำงานคลินิกนอกเวลา เงินค่าเบี่ยเลี้ยงเหมาจ่าย เงินค่าปฏิบัติงานในพื้นที่ระดับ 1 ระดับ 2 ที่กำหนดฯลฯ โดยเฉลี่ยตั้งแต่ 2.5 หมื่น ถึง 6 หมื่นบาท จึงไม่ควรให้ทันตาภิบาลรับความเสี่ยงนี้

อีกกรณีหนึ่งเรื่องจำนวนทันตแพทย์ที่จะให้การรักษาแก่ผู้รับบริการ ปัจจุบันคณะทันตแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ 8 แห่ง ผลิตทันตแพทย์ปีละ 500 คน ตั้งแต่ปี 2548 ปี เป็นต้นมา รับบุคคลเข้าศึกษาเพื่อเป็นทันตแพทย์ปีละ 700 คน ขณะนี้ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 ฉะนั้นใน 6 ปีข้างหน้าจะมีทันตแพทย์เข้ามาอยู่ในระบบบริการของกระทรวงสาธารณสุข จำนวนประมาณ 2,500 คน (ปัจจุบันมีทันตแพทย์ในระบบบริการของกระทรวงสาธารณสุขประมาณ 3,000 คน) ทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุขปัจจุบันที่อยู่ในสายงานบริการมีจำนวนประมาณ 2,500 คน จะเห็นได้ว่าทันตแพทย์จะเข้ามาทดแทนทันตาภิบาลในเรื่องการรักษา




แต่สิ่งที่ยังไม่มีคำตอบคือ ??
- เพราะการนำทันตาภิบาลมาให้การรักษาเป็นเวลา 30 ปี โดยไม่มีการจัดทันตบุคลากรที่มีความรู้เหมาะสมและในจำนวนที่เหมาะสมไปทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคฟันผุเต็มเวลาหรือไม่?จึงทำให้วิชาชีพทันตบุคลากรไม่สามารถควบคุมโรคฟันผุและเหงือกอักเสบให้ลดลงได้
- การกำหนดขอบเขตการทำงานของทีมทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานเสริมกันภายใต้การนำของหัวหน้าทีมงาน ทันตสาธารณสุขระดับจังหวัด (ทันตแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) ของทันตบุคลากร 4ประเภท ให้เป็นที่ยอมรับกันของทีมงานทันตสาธารณสุขในกระทรวงสาธารณสุข ถึงเวลาที่ควรทำหรือยัง ?

ทั้งสองคำถามนี้เป็นคำถามที่ผู้รับผิดชอบกำหนดนโยบายการส่งเสริมฯ ป้องกันฯ รักษาแบะฟื้นฟูสภาพในช่องปากควรหาคำตอบ เพื่อวางแนวทางปฏิบัติต่อไปในอนาคตหรือไม่ หรือจะยังคงปฏิบัติตามแนวทางเดิมที่เคยปฏิบัติมาเเล้ว 30 ปีต่อไป.

วารสารทันตภูธรยินดีนำเสนอทุกความคิดเห็นเรื่องหลักสูตรทันตาภิบาล 4 ปี จากท่านผู้อ่านทุกท่าน กรุณาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อการพัฒนางานทันตสาธารณสุขไทย ส่งความคิดเห็นของท่านมาได้ที่ ruralmax2007@ gmail.com หรือ วารสารทันตภูธร 42/198 ซ.ติวานนท์ 38 ถ.ติวานนท์ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 083 – 4934543

28 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ชาวบ้านเขาไม่รู้หรอกว่าคุณคือใคร ทันตาหรือทันตแพทย์มาหาที่อนามัยก็อยากให้รักษาจนหาย อย่างนี้แล้วจะให้แยกแยะงานอย่างไร? ชาวบ้านจะเข้าใจมั้ย?

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถึงผลิตทันตแพทย์ปีละ 1000 ยังไงเปอร์เซ็นที่ทันตแพทย์มาอยู่ที่กันดาลน้อยมากอยู่ได้แป๊ปเดียวก็ย้ายงานระบบอะไรต่างๆกำลังจะลงตัวก็ย้าย เวลามีคนใหม่มาก็ต้องเริ่มใหม่อีก ทำให้ประสิทะภาพในการทำงานไม่ประสบผลสำเร็จเต็มที่ต้องเข้าใจในจุดนี้บ้างนะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถึงผลิตทันตแพทย์ได้มาก แต่ความเป็นจริงทันตแพทย์บางส่วนก็ยังมีความต้องการทางการเงินอยู่ ถึงแม้ตอนนี้ดิฉันจะอยูปริมณฑล ก็ยังไม่มีทันตาภิบาลที่เพียงพอ มี สอ.4 แห่ง และ รพ.ชุมชน 1 แห่ง แต่มีทันตาภิบาลเพียง 1 คนเท่านั้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

โลกเปลี่ยนไปแล้ว...
สอ.กลายเป็น รพ.ตำบลแต่ทันตาภิบาลที่อยู่รพ.ตำบลยังต้องรับภาระด้านการรักษาต่อไปเมื่อไหร่หนอจะมีทันตแพทย์มาประจำเสียที.....55555

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อ่านคำตอบดูก็รู้ว่าไม่ก้าวหน้า แนะนำให้เปลี่ยนสายงานหรือไม่ก็โอนเข้า อปท.ดีกว่าใครที่จบ สธ.มามีโอกาสได้เป็นถึงหัวหน้ากอง ไม่ต้องมาทนทำงานที่ใจรักแต่ไม่มีความเก้าหน้า

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากทราบว่ามีอะไรที่จะทำให้ชัดเจนได้บ้างถึงอาชีพของชาวทันตา ซึ่งทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับทันตแพทย์ทั้งการรักษา การส่งเสริมฯ เพื่อให้ทันตแพทย์ได้ทำงานที่ยากๆและเฉพาะทางมากขึ้น มรวมถึงมีเวลาได้ทำงานคุณภาพ วิชาการ มากขึ้น ทันตแพทย์ใน ชุมชนน่าจะเข้าใจทันตามากกว่านี้ กำลังใจ ความชัดเจน และสบช.ผลักดันอย่างไร ตอนนี้หมดกำลังใจอย่างมาก

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เอาใจเขา มาใส่ใจเรา แล้วก็จะได้คำตอบค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เรียนทัตสาธารณสุขจบแล้วจะสามารถต่อเป็นทันตแพทย์ศาตร์ได้ไหม

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เพราะเปิดโอกาสแต่ไม่ให้โอกาสท่ดีกว่านี่ เราไม่อยากเป็รพลเมืองชั้น 2ของทันตกรรนะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากได้ผลงานนะแต่ให้ทันตาทำทุกอย่างเราคงไม่ใช่นางฟ้านะที่สามารถทุกอย่างเห้นใจกันบ้าง เรียนมามากกว่าทันตาแต่ทำงานได้ไม่คุมเลย ม่เสียดายความรู่เหรอ แต่พออยูคลีนิคตัวเองแล้วทำได้ทุกอย่าง เอาเปรียบกันชัดๆ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้าเป็นแบบนี้ก็ดีมากๆๆ เลยค่ะแต่ยังงัยเวลาทันตแพทย์ลงมาทำงานจริงๆๆ คงเหมือนเดิม อย่างนี้ต้องกำหนดออกมาเป็นกฏหมายแจ้งให้แต่ละโรงพยาบาลรับทราบ ว่าทันตาภิบาลมีขอบข่ายงานแค่ไหน ไม่นั้นทันตแพทย์หัวใสก็จะสอนงานให้ทันตาภิบาลทำงานรักษาเหมือนเดิม ซึ่งทันตาภิบาลเองจะปฏิเสธไม่ได้ เพราะคนรับใช้ยังงัยก็เป็นคนรับใช้อยู่ดี

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เราก็ไม่ได้อยากทำงานให้เหมือนทันตแพทย์นักหรอกก็ช่วยเข้าใจบทบาทของทันตแพทย์เองด้วยนะว่าศักยภาพคุณมีมากขนาดไหน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทันตแพทย์ก้อยังเป็นบุคคลชั้นสูง
ลองออกมาทำงานที่อนามัยดูบ้างสิจะรู้
ไม่ใช่นั่งแต่รพ.ชี้นิ้วสั่งเอา
ห่วยแตกมากๆๆๆ
ต่อไปทันตาจะเปลี่ยนสายงานกันหมดแล้ว

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้าให้เราเป็นเพียงทันตบุคลากรชั้นสองเท่านั้น
แล้วกระทรวงจะผลิตเรามาเพื่ออะไร
ถ้าจะเท่าเทียมกันในสังคมทำไมถึงให้ทัตแพทย์เปิดคลินิกได้ ทำไมไม่ให้ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียวถ้าไปเปิดคลินิกได้ก็มีทำให้ทัตแพทย์มีจำนวนลดลง ถึงจะผลิดทันตแพทย์มากท่าใดก็คงไม่เพียงต่อความต้องการรักษาของประชาชนหรอก เมื่อเปรียบเทียบกับทันตาแล้ว ก็มีข้อจำกัดให้ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยเท่านั้น ถ้าไม่งั้นก็ไม่มีงานทำ ซึ่งเป็นช่องแตกต่างของ...(คิดเอาเอง)ทีทำเป็นข้อผูกมัด ถ้าเปิดคลินิกได้แล้วรายได้ดีดว่าทันตแพทย์ทุกคนก็คงจะหันไปเปิดคลินิกกันหมด ตามพื้นฐานของจิดสำนึกของคนเราถ้าเจอสิ่งที่ดีเราก็คงต้องเลือก
แต่ก้มีผู้มีอุดมการณ์ที่ดีในการให้การรักษาคนไข้ก็เห็นดีด้วย แต่ถ้าเรียนมาหกปีเพียงเพราะการต้องเพียงแค่เงิน ก็ลองคิดดูเองล่ะกัน ลองคิดดูล่ะกัน ทำไมไม่ให้บุคลากรทางสาธารณสุขทุกคนทำงานภายในหน่วยงานเท่านั้น ไม่ให้ผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพไปเปิดคลินิกของตนเอง ให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันจริงๆ ไม่ว่าจะจนหรือจะรวยก็ได้รับการรักษาที่เท่าเทียมกันทุกคน แต่มันก็จริงที่ว่าผู้ที่มีเงินมากกว่ายอมได้รับการรักษาที่ดีกว่ามีทางเลือกมากกว่าจึงส่งผลให้ประชาชนไดรับความเดือดร้อน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถึงกระทรวงจะผลิดทันตามาดเท่าใด ทันตาก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ทันตาก็ยังมีความต้องการความก้าวหน้าในอาชีพของตนเองดังนั้นทันตาส่วนมากก็จึงหันไปเปลี่ยนสายงานกันหมดถึงผลิตมากเท่าใดในแต่ล่ะก็คงจะยังไม่ต่อความต้องการอยู่ดี ทันตแพทย์ก็เช่นกันผลิตมากเท่าใดก็หายไปเท่านั้น เมื่อพบว่าเป็นเจ้านายตัวเองมันดีกว่าก้คงต้องจากราชการ ไปประกอบอาชีพโดยใช้ใบประกอบโรงศิลปของตัวเองดีกว่าเยอะ ห้าๆๆๆๆเป็นไง ชาวบ้านก็เลยต้องผู้ที่รับเคราะห์ไป เพราะความเหลือมล้ำในสายอาชีพของตนเอง เกิดความแตกต่างกันมากเกินไป ทำให้ต้องเปลี่ยนสายงานกันไปเพื่อความก้าวหน้าของชีวิต เพราะข้อจำกัด ของ ทันตาภิบาล ทำให้ขาดทันตาไป

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทำไมต้องแบ่งแยกชนชั้นกันด้วย ทุกคนต่างก้อทีหน้าที่ที่จะรักษาคนไข้ให้หายจากความเจ็บปวด
ทั้งทันตแพทย์ผูช่วยทันตแพทย์หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องก้อมีความสำคัญไม่แพ้กัน
แต่พวกที่จบทันตแพทย์ก้อมักจะดูถูกทันตภิบาลและผู้ช่วยถ้าไม่มี พวกเรา อยากรู้ ว่าทำงานได้ไหม อาจทำได้ แต่ พวกหมอก้อคงต้องการผู้ช่วย
ดูถูกผู้ช่วยอยู่ ได้ แบ่งชนชั้น แล้ว เป็นคนเหมือนกันไหม สูงส่งมาจากไหน ควายยยยยยยยยเหอะ เครียดวุ้ย จากผู้ ช่วยทันตแพทย์คนหนึ่ง อึดอัดเสียจีย โดยเหยียดหยาม

seventeen กล่าวว่า...

คนเคยทำงานรักษามานานเปลี่ยนบทบาทให้ค่อนข้างสายฟ้าแลป แต่การไม่ให้ทันตารักษาก็ดีนะเพราะพวกเราไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ ทำงานก็ถือว่าเสี่ยง คือทำดีก็แค่เสมอตัว อย่าได้ทำพลาด แต่ก็อยากให้มีการชี้แจงให้ชัดเจนว่าทำงานอะไรได้บ้าง จะได้ไปปรับใช้ทำงานในอนาคต เพราะไม่อย่างนั้นบางแห่งมีทันตแพทย์มากขึ้น ทันตาก็จะถูกเกี่ยงให้ไปทำงานเป็นผู้ช่วยแทน และก็มีจริงในวิชาชีพทันตาภิบาล ขอความชัดเจนให้พวกเราด้วย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ตอนนี้ผู้ช่วยทันตแพทย์กับทันตาภิบาลอยู่ระดับเดียวกันเลย ทันตาต้องทำงานรักษาแต่ผู้ช่วยทันตแพทย์แค่นั่งข้างเก้าอี้ได้ค่าเวรเท่ากัน ไม่ทารบว่าจะแยกค่าเวรให้มันแตกต่างกันบ้างไม่ได้หรือ แล้วเมื่อไรทันตาภิบาลจะได้บรรจุเป็นข้าราชการ เงินเดือนก็น้อย โดนหักประกันสังคมอีก ลากิจก็โดนหักเงินเดือนเมือเปรียบเทียบกับรุ่นพี่ทันตาที่เป็นข้าราชการมันแตกต่างกันมากในเรื่องสิทธิต่างๆ แต่ทำงานเหมือนกัน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทันตภิบาล 4ปี ก็มีตำแหน่ง นักวิชาการทันตสาธารณสุข สิ
ตำแหน่งนี้ตั้งเป็นเฉพาะเลยนะ เป็นนักวิชาการไปเลยที่เกี่ยวกับงานทันต ที่ได้รับมอบหมาย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

มีคนโพสท์ไว้ ..
..อึ้งงงง !!
..ยืนยันว่าทันตาภิบาลทำคลินิกรักษาคนไข้ไม่ได้ทุกกรณีจริงจริง


มันไม่แฟร์ตั้งแต่ให้คนได้ได้รับบริการทันตกรรมจากคนที่ไม่ใช่หมอฟันแล้วหละ ไม่ใช่ไม่แฟร์ที่ทันตาภิบาลได้เงินเดือนน้อย คนละเรื่องกัน เพราะทันตาภิบาลส่วนใหญ่ทำงานกันเกินความรู้และหน้าที่ ไม่ใช่ว่าเก่งนะที่ทำเกินหน้าที่ได้ แต่พอทำเกินหน้าที่แล้วมักจะคิดว่าทำแล้วตัวเองเหมือนเป็นหมอ เลยติดใจจะทำอีก แล้วก็คิดว่าตัวเองก็เป็นหมอ เลยดูเหมือนได้เงินเดือนน้อย ไม่ได้คิดว่าตัวเองจบอะไรมา ควรทำงานได้แค่ไหน อันนี้มันก็ไม่ได้เป็นกับทันตาภิบาลทุกคน แต่บางคนเป็น แล้วก็ทำให้เกิดความวุ่นวายต่างๆ ทันตาภิบาลหลายคนทำงานตามหน้าที่ ทำได้ดีด้วย น่าเป็นแบบอย่างและน่านับถือก็มี ได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงานอย่างดีก็มาก อย่างนี้น่าชื่นชมมากกว่าอย่างแรก


เรื่องต่อมา ไม่ว่าโรงพยาบาลรัฐ เอกชน หรือคลินิก หมอแย่ๆจ้างทันตาภิบาลมาทำงานมันก็คงมีอยู่จริง แต่ทำไมทันตาภิบาลต้องแกล้งโง่ถูกใช้ให้ไปทำล่ะ มันก็ผิดทั้งคู่น่ะแหละ


บอกเค้าไปว่าทำไม่ได้มันดูสมาร์ทกว่าเยอะ ไม่ใช่ทู่ซี้ทำเพราะคิดว่าตัวเองทำได้แล้วจะได้รับการยอมรับ รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ควรทำ แต่ก็โลภ


ถึงจะอยู่โรงพยาบาลรัฐก็เถอะ อยากให้ทันตาภิบาลเลิกทำงานรักษาซักที ปล่อยให้หมอเค้าทำกันไป จะคิดว่าหมอได้เงินเดือนเยอะกว่าก็ได้ ถ้าจะคิดบวกหน่อยก็ถือว่าสงสารคนไข้ปล่อยให้เค้าได้ทำฟันกับคนที่เรียนมาด้านนี้ดีกว่า ไม่ต้องอ้างว่าคนไข้มาแล้วหมอทำไม่ทัน หรือหมอไม่ทำ ใส่ร้ายป้ายสีกันไปมา หมอทำได้แค่ไหนก็แค่นั้นเถอะ มันไม่ได้เร่งด่วนมากมาย ทันตาภิบาลที่อยู่อนามัยเหมือนกัน บอกไปเลยว่าไม่ใช่หมอ อุดฟันแท้ถอนฟันแท้ไม่ได้ให้ไปทำโรงพยาบาลดีกว่า แล้วทันตาภิบาลก็มาทำงานส่งเสริมป้องกันให้ดีเยี่ยมโดดเด่นไปเลย ลบล้างภาพแย่ๆที่คนรุ่นเก่าเคยทำเอาไว้


ถ้าจะอยากได้เงิน อยากเปิดคลินิก ก็ไปเรียนเป็นหมอเลยเถอะ จะได้ไม่ต้องหลบๆซ่อนๆ


เรื่องยุ่งๆพวกนี้สุดท้ายมันก็เรื่องเงิน แต่ผลเสียก็ตกอยู่กับคนไข้ เสียทั้งเงิน เสียทั้งถูกหลอกว่าไปทำฟันมาแล้วกับหมอ


อยากให้ทั้งหมอและทันตาภิบาล มีจรรยาบรรณในการทำงาน


ถึงแม้ทันตาภิบาลจะไม่มีใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม ไม่สามารถเปิดคลินิก ไม่ใช่หมอฟัน แต่ก็สามารถทำงานอย่างมีจรรยาบรรณและซื่อสัตย์ต่อคนไข้ได้


และถึงแม้จะมีคนไม่ดีในสังคม เราก็ไม่ควรเลียนแบบการทำไม่ดีอย่างคนพวกนั้น ทำงานของเราให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลังดีกว่า

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ใหนล่ะ???? ทำไมไม่เห็นมีใครมาตอบเพิ่มอีก
อยากรู้ ให้แบบชัดๆๆกันไปเลย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ฝากประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหลักสูตรช่างเทคนิคทันตกรรม รุ่นที่ 3 สนใจเข้าร่วมสมัครหลักสูตรช่างเทคนิคทันตกรรม รุ่นที่ 3 สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ตาม ลิงค์ที่ให้นี้ http://www.japandentaltek.com/courses.php หรือทางเว็บไซต์ http://www.japandentaltek.com
หากมีข้อสงสัยติดต่อได้ที่เบอร์ 053-104695 เลยนะครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สังคมไทยก็งี้หนูก็สอบได้แต่ยังไม่ทันเรียนก็จะเรียนอย่างอื่นแล้วเรียนไปก็เสียเวลาขอทานยังได้เงินเยอะกว่าเลยแล้วจะไม่ให้ขาดแคลนได้ไงใครเขาอยากจะดักดานกับอาชีพที่ไม่มีอะไรเลยไม่ไหวมั้งกินข้าวนะไม่ได้กินหญ้าหรือกินลมเป็นอาหารกรุณาเห็นใจคนอื่นบ้างทันตเหมือนกันก็อย่ากำหนดอะไรให้มันต่างกันมากนัก

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้าเราตัดความคิดลบๆเกี่ยวกับทันตแพทย์เราก็จะรู้ว่าสิ่งที่เราควรใส่ใจนั้นคือตัวของคนไข้ไม่ใช่อย่างอื่น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากทราบว่ามีเรียนที่ไหนบ้างค่ะสำหรับสี่ปี่รับวุฒิอะไรบ้างค่ะ กสนรับหรือป่าวค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

โอเคมากค่ะ ถ้าให้ทันตแพทย์รับงานรักษาไป แล้วให้ทันตาภิบาลรับเฉพาะ !!!! งานส่งเสริมป้องกัน
จะบอกว่าที่ แถวชนบท ทันตแพทย์มีแต่ย้ายออก ไม่รู้มีเหตุผลอะไร
แต่สุดท้ายงานก็ไม่พ้นทันตาภิบาลอยู่ดี
ถ้าเป็นจริงอย่างที่บทความพูด จะเป็นพระคุณในการทำงานอย่างสูงเลยค่ะ
เราไม่ต้องการก้าวก่ายงานของผู้ใด แต่เมื่อมีคนไม่สบายเราก็ต้องบรรเทา เท่าที่เราจะทำได้

Unknown กล่าวว่า...

คุณพูดได้ตรงใจมากๆๆค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

มันก็ไม่แฟร์ ที่จะสั่งงานให้ ทันตาภิบาลทำทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่ ไม่อยากเก่ง เงินแค่นี้ อยากทำตามเงินเดือน ใครเงินเดือนมาก็ควรทำให้มาก

หมอห่วย ทันตาแน่ ก็มี ละทำไมไม่ลงโทษละครับ เคสที่อุบล ก็มีทำไมไม่ไล่ออกทั้ง สองคน..? ลืมไปเป็นหมอห่วยที่ใหญ่ใช่ไหม..???

อยากให้หมอ ที่เปิดคลีนิค ขยันเหมือนทำงานในโรงพยาบาลบ้างนะครับ จะได้คุ้มกับภาษี หลายหมื่นที่ต้องจ่าย..?