การทำกิจกรรมทบทวนคุณภาพเป็นการเรียนรู้จากจุดอ่อน ความเสี่ยง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ และเสียงสะท้อนต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงระบบให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้เรื่องบันไดสามขั้นสู่ HA ซึ่งโรงพยาบาลต่างๆก็จะมีลำดับขั้นที่แตกต่างกัน บางแห่งก็ได้รับการรับรอง Accreditation หรือขั้น 3 บางแห่งก็ Reaccredits บางแห่งก็ขั้น 1 ขั้น 2 อยู่ แต่พื้นฐานของการพัฒนาไม่ว่าจะอยู่ขั้นไหน พื้นฐานที่สำคัญคือ การทำ “กิจกรรมทบทวนคุณภาพ”
ดังนั้น ฉบับนี้จึงจะขอนำเสนอการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ เพราะได้รับเสียงเรียกร้องจากน้องๆทันตบุคลากรหลายคนบอกว่า ที่โรงพยาบาลทำกิจกรรมทบทวน 12กิจกรรม แล้วบอกให้ทันตกรรมต้องทำด้วย ทำไม่เป็นเหมือนพยาบาลหรือแพทย์ที่งานเขาตรงไปตรงมากว่างานเรา ก็เลยตกลงค่ะ ฉบับนี้ตามคำเรียกร้อง จะลองนำตัวอย่างการทำกิจกรรมทบทวนคุณภาพมาให้ดูว่างานทันตกรรมก็ทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด ก่อนอื่นลองมาทบทวนกิจกรรมทบทวนคุณภาพก่อนว่า 12 กิจกรรม มีอะไรบ้าง แล้วประยุกต์นำมาใช้ในการทบทวนกิจกรรมคุณภาพในงานทันตกรรมอย่างไรบ้าง
1.การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย
2.การทบทวนคำร้องเรียน
3.การทบทวนการส่งต่อ
4.การทบทวนการตรวจรักษาโดยผู้ชำนาญกว่า
5.การทบทวนความเสี่ยง
6.การทบทวนการป้องกันการติดเชื้อ
7.การทบทวนความคลาดเคลื่อนทางยา
8.การทบทวนเหตุการณ์สำคัญ
9.การทบทวนความสมบูรณ์เวชระเบียน
10.การทบทวนการใช้ความรู้ทางวิชาการ
11.การทบทวนการใช้ทรัพยากร
12.การติดตามเครื่องชี้วัดสำคัญ
แต่ฉบับนี้ก็จะลองนำตัวอย่างการทบทวนขณะดูแลผู้ป่วยในงานทันตกรรมที่ใครต่อใครว่าจะนำมาใช้ในงานทันตกรรมได้อย่างไร โดยเฉพาะ C3 THER
C1 : Care
- เราได้ประเมินผู้ป่วยอย่างรอบด้านหรือไม่ คือประเมินทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม
- นำข้อมูลที่จากการประเมินมาวางแผน แก้ปัญหาให้ผู้ป่วยรายนี้ครบถ้วนแล้วหรือไม่
- เราป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยรายนี้หรือไม่
C2 : Communication
- มีข้อมูลอะไรที่ผู้ป่วยและครอบครัวควรจะรับรู้ในขณะนี้ (ความเข้าใจในโรคที่ตนเองเป็นอยู่ ทางเลือกในการดูแลรักษา วิธีการปฏิบัติตัวที่เราคาดหวัง)
C3 : Continue
- ปัญหาสำคัญที่คนไข้และครอบครัวต้องเผชิญ เมื่อกลับไปอยู่บ้านคืออะไร เราได้เตรียมผู้ป่วยและครอบครัวให้พร้อมที่จะจัดการปัญหาแล้วเป็นอย่างไร
T : Team ถ้าจะดูแลผู้ป่วยรายนี้ให้ดีที่สุด ควรมีวิชาชีพใดบ้างมาช่วยกัน
H : Human Resource development ความรู้และทักษะของทีมงานเพียงพอจะดูคนไข้หรือไม่ จะต้องพัฒนาเพิ่มเติมอะไรE : Environment ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะดวกสบาย ปลอดภัยหรือไม่
R : Record บันทึกเราสมบูรณ์หรือไม่ คนอื่นมาดูต่อสามารถสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจหรือไม่ ใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้หรือไม่
ลองมาดูตัวอย่างว่าการปฏิบัติจริงทำอย่างไร วิธีการ /ความถี่ /ผู้ร่วมทบทวน วิธีการ C3THER แต่อาจจะไม่เต็มรูปแบบ ความถี่ ทบทวนในผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนผู้ร่วมทบทวน ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์/ผู้ช่วยเหลือคนไข้ความครอบคลุม ทบทวนในผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน
กรณีตัวอย่าง
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 10 ปี ภูมิลำเนา ตำบลสกาด (พื้นที่ภูเขาสูง) อำเภอปัว จังหวัดน่าน
- Past medical history ; ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ ไม่มีประวัติ ไข้สูง ชัก มารดาไม่ได้รับยาใดๆ ขณะตั้งครรภ์ ผู้ป่วยรับประทานน้ำประปาภูเขา ไม่เคยย้ายที่อยู่ประวัติครอบครัว บิดา มารดา และ พี่สาว มีฟันสีปกติ มีป้าที่มีสีฟันเหลืองทองคล้ายผู้ป่วย
- Dental history ; ไม่เคยได้รับการรักษาทางทันตกรรม ฟันน้ำนมมีสีขาวตามปกติ
- Clinical feature ; ฟันแท้มีสีเหลืองทองทั้งปาก มีการสึกกร่อนบริเวณด้านบดเคี้ยวของ ฟันกรามน้อย และฟันกรามใหญ่ ฟันหน้ามีการสึกกร่อนเล็กน้อยด้านริมฝีปาก ไม่มีฟันซี่ใดสึกทะลุโพรงประสาท ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆ
- Radiographic feature ; # 37, 47 furcation ต่ำไปทางปลายราก ยังสร้างรากไม่สมบูรณ์ ลักษณะคล้าย taurodontia # 36, 46 ลักษณะปกติ # 35, 45 โพรงประสาทฟันใหญ่
- Differential ; diagnosis Fluorosis , Amelogenesis imperfecta
Diagnosis ; Amelogenesis imperfect
@ C1 : Care ; ทำการประเมินผู้ป่วยทั้งทางด้านช่องปากและดูความวิตกกังวลพบว่าขณะพูดคุยคนไข้มีน้ำตาคลอแม้จะไม่พูดอะไรแต่ก็พอสังเกตแววตาที่มีความวิตกกังวลซ่อนอยู่ (อย่าดูแต่ฟันอย่างเดียว)
@ C2 : Communication ; ได้มีการอธิบายความเข้าใจในโรคที่เป็นอยู่ สาเหตุ ทางเลือกในการรักษา วิธีปฏิบัติตัวให้กับคุณพ่อของผู้ป่วยและตัวผู้ป่วยเอง
@ C3 : Continue ; ได้อธิบายถึงโอกาสการเกิดผลที่จะตามมาในระยะยาวของโรคนี้และ Treatment plan
> ขูดหินน้ำลาย, ขัดฟัน
> อุดฟันทั้งปาก โดยเฉพาะด้านบดเคี้ยวของฟันกรามน้อย และฟันกราม เพื่อป้องกันการสูญเสีย vertical dimention และ การสึกทะลุโพรงประสาทฟัน
> Veneer ในฟันหน้าเพื่อความสวยงาม
> ในอนาคตอาจพิจารณาทำ full mouth rehabilitation โดยการทำครอบฟันทั้งปาก(เนื่องจากจากการซักประวัติพบว่าฐานะทางครอบครัวของผู้ป่วยค่อนข้างยากจนจึงได้ประสานขอความร่วมมือกับทันตแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์ผู้ใจบุญจะดำเนินการให้เป็นกรณีพิเศษ)
@ Team ; ปรึกษาร่วมกันในระหว่างทันตแพทย์หลายคน
@ Human Resource development ; ตอนแรกทางทีมก็คิดว่าเป็น Fluorosis เพราะลักษณะฟันเหมือนกันมากแต่จากการซักประวัติและดูสภาพพื้นที่และน้ำที่ดื่มไม่น่าจะเป็นได้จึงทำการค้นคว้าจาก หนังสือวิชาการเพิ่มเติมจึงเป็นการทบทวนกรณีที่เป็นCase ความรู้ของทันตบุคลากรไปด้วย
@ Environment ; เมื่อไม่ใช่เป็นปัญหา Fluorosisน้ำที่ดื่มน้ำใช้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาแต่ก็ได้ให้ผู้ป่วยนำน้ำดื่มที่ดื่มที่ใช้เป็นประจำมาด้วยเพื่อจะส่งตรวจ หา F ต่อไป
@ Record ; ทำการบันทึกและเก็บCase ไว้ทบทวนร่วมกัน
จะเห็นได้ว่าไม่ยากอย่างที่คิดนะค่ะลองเขียนดูนะคะหลายคนอาจจะบอกว่าก็ทำอยู่ทุกวัน ค่ะนั้นแหล่ะเป็นสิ่งที่ดีที่ทำจนเป็นงานประจำเพียงแต่นำมาเขียนให้ตามประเด็นที่สำคัญเพื่อที่จะได้ดูว่าประเด็นไหนยังขาดหายไปก็จะได้เพิ่มเติม โอกาสต่อไปก็จะนำการทบทวนอื่นๆมานำเสนอเพิ่มเติมคะ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น