วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

กรอบแนวคิด หลักสูตรทันตสาธารณสุขศาสตร์ ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551



สถาบันพระบรมราชชนก ได้ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) และหลักสูตรประกาศวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) 2 ปี มา เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

วัตถุประสงค์ของ กรอบแนวคิดหลักสูตร เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตควรมีความสามารถ 4 ด้าน ดังนี้

1. ความสามารถที่พึงประสงค์ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
1.1) มีแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาพช่องปาก สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้ประชาชนเพิ่มความสามารถในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้
1.2) สามารถนำความรู้ทางระบาดวิทยา สังคมวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ มาวิเคราะห์สภาวะสุขภาพและสุขภาพช่องปากของชุมชนได้ในระดับที่เหมาะสม
1.3 ) มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพช่องปากได้อย่างเหมาะสม
1.4) สามารถวางแผนและดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก บนพื้นฐานขององค์ความรู้ทางวิชาการร่วมกับสภาพความเป็นจริงทางสังคมของชุมชน
1.5) สามารถติดตามและประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ความรู้เรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชน
1.6) สามารถสื่อสารให้ชุมชนรับรู้ เข้าใจและปฏิบัติตนเพื่อดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างเหมาะสม
1.7) สามารถส่งเสริมให้ชุมชนดูแลสุขภาพตนเองโดยผ่านกระบวนการกระตุ้นให้ชุมชนรับรู้ เข้าใจและปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากมากกว่าการให้ผู้อื่นมาดูแล
1.8) สามารถเพิ่มศักยภาพที่มีอยู่ของบุคคล ครอบครัว และชุมชนในการดูแลสุขภาพช่องปาก
1.9) สามารถบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากกับงานส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ได้


2. ความสามารถที่พึงประสงค์ด้านการป้องกันโรคในช่องปาก
2.1) มีทักษะในการประเมินภาวะเสี่ยง วินิจฉัย คัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคใน ช่องปากและส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
2.2) มีทักษะในการเลือกและดำเนินมาตรการทางทันตกรรมป้องกันได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับบุคคล ครอบครัว และชุมชน (เช่น การควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์ การให้ฟลูออไรด์เฉพาะที่และทางระบบ การเคลือบหลุมร่องฟัน และการใช้วัสดุอุดฟันอื่น ๆ เพื่อการป้องกัน เป็นต้น)
2.3) มีทักษะในการประยุกต์หลักจิตวิทยา เพื่อการโน้มน้าวและติดตามผู้ป่วยระดับบุคคล และครอบครัว อันนำมาสู่การปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม


3. ความสามารถที่พึงประสงค์ด้านการรักษาโรคในช่องปาก

3.1 งานทันตกรรมหัตถการ ประกอบด้วย

3.1.1 การอุดฟันน้ำนมที่ผุไม่ถึงโพรงประสาท และรอยผุไม่ซับซ้อน
3.1.2 การอุดฟันแท้ที่ผุไม่ถึงโพรงประสาท และรอยผุไม่ซับซ้อน
3.1.3 การอุดฟันชั่วคราวเพื่อการส่งต่อ ด้วยวัสดุอุดชั่วคราว

3.2 งานดูแลสภาวะปริทันต์ ควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์ ขูดหินน้ำลายและทำความสะอาดฟันทั้งปากในผู้ป่วย ที่มีเหงือกอักเสบระดับน้อยถึงปานกลาง

3.3 งานทันตศัลยกรรม ประกอบด้วยการถอนฟันน้ำนมที่ขึ้นปกติ โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ ด้วยวิธี Local infiltration

3.4 การช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อการส่งต่อ เมื่อมีภาวะฉุกเฉินและมีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาทางทันตกรรมที่ให้บริการ

3.5 การจ่ายยาตามบัญชียาของศูนย์สุขภาพชุมชน

3.6 สามารถซักประวัติและตรวจผู้ป่วยเพื่อรวบรวมข้อมูลทางกาย จิต สังคม ที่จำเป็นต่อการประเมินสภาวะทางระบบ และสภาวะในช่องปากของผู้ป่วยทุกวัยได้อย่างเหมาะสม


4. ความสามารถด้านอื่นๆ ที่พึงประสงค์ อาทิเช่น สามารถรับรู้และเข้าใจสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนปัญหาในด้านต่างๆ ภายใต้สภาวะที่เปลี่ยนแปลง มีการใฝ่รู้ตลอดชีวิต ด้วยความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีเจตคติที่ดี พร้อมที่จะพัฒนาและส่งเสริมงานในหน้าที่ความรับผิดชอบด้านบริการสาธารณสุขแบบองค์รวมได้อย่างมีคุณภาพ ,ฯลฯ

*** สามารถอ่านรายละเอียด “ กรอบแนวคิด หลักสูตรทันตสาธารณสุขศาสตร์ ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551” ได้ที่ www.ruraldent.org


2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทันตา....ผู้น่าสงสารทำงานมากกว่าคนอื่น(ในบางสถานบริการ)แค่ความก้าวหน้าและค่าตอบแทนน้อยมาก

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กระทรวงมีแผนจะผลิตทันตาภิบาล 2 ปี ปีละ 1600 คน ฝากทุกคนช่วยเตือนน้องๆว่าอย่าเลือกเดินทางนี้เลย หากอยากสบายใจ สบายกายในวันหน้าให้เลือกเรียนให้จบปริญญาตรี เพราะเรียน 2 ปี แม้ชาวบ้านจะเรียกเราว่าคุณหมอ แต่ ก.พ.ให้เราเพียงชนชั้นแรงงานเท่านั้น อย่ามาทุกข์ทั้งชีวิตเลย