วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

แนวทางการบริหารงบจัดสรรตามเกณฑ์คุณภาพบริการ ปี53

1. แนวคิดการจัดสรร : งบจัดสรรตามเกณฑ์คุณภาพบริการเป็นกองทุนย่อยที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ โดยมีการวัดผลการดำเนินงานในการดูแลผู้ป่วยในโรค / หรือประเด็นคุณภาพที่กำหนด เปรียบเทียบผลงานระหว่างหน่วยบริการ และสะท้อนข้อมูลกลับให้หน่วยบริการ ร่วมกับการจ่ายเงินตามหลักการ คือหน่วยบริการจะได้รับงบประมาณในอัตราเหมาจ่ายรายหัวที่แตกต่างกัน ตามระดับคุณภาพ

2. วัตถุประสงค์

1. สร้างแรงจูงใจให้หน่วยบริการประจำ และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อ จัดบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด

2. สร้างกลไกการจัดการทางการเงินตามผลงานที่มีคุณภาพ (Quality outcome performance) เพื่อการส่งเสริม และควบคุมกำกับ คุณภาพบริการ ของหน่วยบริการและเครือข่าย

3.มีระบบสารสนเทศ ด้านคุณภาพ เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การจัดบริการสาธารณสุข

3. กลุ่มเป้าหมาย : หน่วยบริการประจำรวมถึงหน่วยปฐมภูมิในเครือข่าย และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อที่มีประชากรลงทะเบียนด้วย

4. ผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่ต้องการ : หน่วยบริการมีผลการดำเนินงานที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเทียบกับปีที่ผ่านมา

5. กรอบการบริการกองทุน : งบประมาณที่ได้ 40 บาท ต่อประชากร 47.2397 ล้านคน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 1,889,588,000 บาท แบ่งเป็น

หน่วยบริการประจำ / ปฐมภูมิ

หน่วยบริการที่รับการส่งต่อ

วงเงินจัดสรรตามเกณฑ์คุณภาพ

18 บาท ต่อ ประชากร UC

18 บาท ต่อ ประชากร UC

วงเงินจัดสรรตามเกณฑ์

ตอบสนองกิจกรรมคุณภาพ

2 บาท ต่อ ประชากร UC

2 บาท ต่อ ประชากร UC


เกณฑ์หน่วยบริการประจำ / ปฐมภูมิ


เกณฑ์ 7 การเข้าถึงบริการทันตกรรมและงานทันตสาธารณสุขที่จำเป็น

เหตุผล ความจำเป็น

จากการสำรวจทันตสุขภาพแห่งชาติทุก 5 ปี พบว่าโรคฟันผุมีแนวโน้มปัญหาในระดับสูง ถือเป็นปัญหาทันต-สาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ปี 2550 กลุ่มเด็กอายุ 3 ปีมีปัญหาฟันผุร้อยละ 61.4 และกลุ่มอายุ 12 ปี มีปัญหาฟันผุร้อยละ 56.8 โดยแนวโน้มปัญหาฟันผุของเด็กในเขตชนบทสูงขึ้น ขณะที่ปัญหาของเด็กในเขตเมืองกลับลดลงอย่างชัดเจน สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันน้ำนมผุเร็ว และผุมาก เนื่องจากการกินนมที่ไม่เหมาะสม การกินอาหารแป้งและน้ำตาลบ่อยๆ การไม่ทำความสะอาดช่องปาก และการไม่ได้รับบริการด้านการป้องกันอย่างทันกาล จันทนา อึ้งชูศักดิ์ และคณะ ได้ประเมินผลการจัดกิจกรรมสำหรับแม่และเด็ก ของสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2546 พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ได้รับการฝึกแปรงฟันร้อยละ 20.2 แสดงให้เห็นได้ว่าการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก แม้มีการระบุไว้ในชุดสิทธิประโยชน์อย่างครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกราย และขาดการให้บริการกิจกรรมหลักที่สำคัญคือ การบริการด้านการป้องกัน รวมทั้งไม่มีมาตรการเชิงรุกในชุมชนที่เป็นรูปธรรม แม้จะมีการจัดบริการบูรณาการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในงานคลินิกเด็กดี ซึ่งมีการดำเนินการได้บางส่วน แต่เป็นการดำเนินการที่ยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึง แนวทางการแก้ไขปัญหาจึงต้องเน้นการจัดบริการส่งเสริมป้องกันอย่างเป็นระบบ ทั้งในสถานบริการทุกระดับและการบริการเชิงรุกในชุมชน 1

วัตถุประสงค์

1. เพื่อกระตุ้นให้เกิดบริการงานส่งเสริมทันตสุขภาพ และทันตกรรมป้องกันในพื้นที่

2. เพื่อพัฒนาหน่วยบริการให้มีระบบข้อมูลการบริการทันตกรรมและงานทันตสาธารณสุขในพื้นที่ที่สมบูรณ์

มิติคุณภาพ

เครื่องชี้วัดที่สะท้อนการเข้าถึง / การได้รับบริการทันตกรรม และงานทันตสาธารณสุขที่จำเป็น (Accessibility and effective delivery of needed care)

1 คัดลอกจาก สถานการณ์การจัดบริการสุขภาพช่องปาก และข้อเสนอการพัฒนาการเข้าถึงบริการของประชาชนไทย ; ทพญ.สุณี วงศ์คงคาเทพ กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย

0 ความคิดเห็น: