วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

จุดประกายความคิด : โดยทพญ. มัทนา เกษตระทัต


จุดประกายความคิด : โดยทพญ. มัทนา เกษตระทัต

“คนเรายังไม่รู้เลยว่าตัวเองเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเราจะไปอวดอ้างว่ารู้จักสิ่งอื่นได้อย่างไร”
ผู้เขียนตั้งใจพลิกหนังสือชื่อ “หมอก” ของคุณทรงกลด บางยี่ขัน ดูเพียงคร่าวๆแต่ก็ต้องมาหยุดที่หน้าที่มีข้อความข้างต้นแล้วอ่านต่อรวดเดียวจนจบบท ข้อความดังกล่าวนั้นเป็นคำพูดของ จอนิ โอ่เดชา ปราชญ์ผู้เฒ่าชาวปกาเกอญอ หรือที่คนไทยส่วนมากเรียกกันติดปากแบบเหมารวมว่า กะเหรี่ยง นั่นเอง ผู้เขียนดีใจมากที่ได้อ่านคำสัมภาษณ์ของผู้เฒ่าจอนิ เพราะเมื่ออ่านจบแล้วมันทำให้รู้สึกว่าอีโก้ที่มักพองโตแบบไม่ให้เรารู้ทันได้ถูกเจาะให้แฟบเล็กลงซะทีสองที พะตี (แปลว่าลุง) สอนไว้ว่า “ อย่าเพิ่งมั่นใจกับข้อสรุปของคุณ และอย่าเพิ่งมั่นใจกับข้อสรุปของใครๆเพราะโลกนี้มันหลากหลายนัก ” พะตีบอกว่า “เฮาต้องเข้าใจว่าความขัดแย้งนี้แหละคือความจริง โลกที่ขัดแย้งกันนี้แหละคือโลกที่แท้จริง” ชาวปกาเกอญอ เรียกโลกนี้ว่า ที่ร้องไห้ ใครเกิดมาที่นี่แล้วไม่ร้องไห้ ไม่เจอปัญหา ไม่เจอความขัดแย้ง ไม่มี “นี่แหละความจริง” พะตีเป็นหลักฝ่ายบุ๋นช่วยในการต่อสู้กับรัฐที่มองว่าชาวปกาเกอญอบุกรุกทำลายป่า ทั้งๆที่พวกเขาอยู่กับป่า ผูกพันกับป่า เอาวิถีธรรมชาติมาดูแลธรรมชาติสืบเนื่องกันมา 300 กว่าปีแล้ว พะตีบอกว่าถ้าที่ทำมามันผิด ป่าก็คงหมดไปนานแล้ว “เรื่องบางเรื่อง ประเด็นบางประเด็น สายตาของคนเมืองที่มองผ่านตำราอาจเชื่อมั่นกับข้อสรุปบางอย่าง” ผู้เฒ่าปกาเกอญอพูดไว้อย่างนั้น “ เฮาเชื่อว่าถ้าทำลายธรรมชาติหมดก็เท่ากับทำลายวิญญาณของเฮาด้วย วิญญาณของเฮามี 37 ขวัญ อยู่ที่เฮา 5 ขวัญ ที่เหลืออยู่ใน ต้นไม้ ปลา หมา นก กวาง กิ้งกือ หมูป่า ฯลฯ พะตีบอกว่าเราต้องรู้จักต้นไม้ ต้องรู้จักสัตว์ ไม่ใช่แค่รู้ว่าหมูป่าอร่อยก็กินๆโดยที่ไม่รู้จักดูแลหมูป่า รู้ว่าปลาอร่อยก็กิน แต่ไม่รู้จักดูแลปลา ผู้เขียนเองเคยเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการล่าแมวน้ำไว้ในบล็อกโดยที่ได้ตั้งคำถามให้ผู้อ่านฉุกคิดว่าที่เรามักต่อต้านการล่าแมวน้ำเมื่อได้รับอีเมลฟอร์เวิร์ดกันนั้นเป็นเพราะอะไรกันแน่ เพราะมันเป็นสัตว์ใหญ่? เพราะรูปลูกแมวน้ำที่ส่งมากับอีเมลมันหน้าตาน่ารัก? แล้วมันมีมุมมองอื่นหรือไม่ ทำไมชาวประเทศแคนาดาส่วนมากไม่ต่อต้านการล่าแมวน้ำของชาวอินุท (หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ เอสกิโม) ผู้เขียนได้ให้ลิงค์และข้อมูลจากมุมมองของชาวอินุทและรัฐบาลแคนาดาให้ผู้อ่านอ่านเปรียบเทียบ เช่น จริงๆมันมีกฎหมายควบคุมอยู่แล้วว่าห้ามล่าลูกแมวน้ำ ต้องล่าอย่างยั่งยืนและคนที่ฆ่าด้วยวิธีที่ทารุณโหดร้ายก็จะต้องโดนลงโทษ แต่ให้เลิกล่าเลยคงเป็นไปไม่ได้เพราะจากบริบทตรงนั้น มันเป็นวิถีชีวิตมีความหมายด้วย ปรากฏว่ามีคอมเม้นท์กลับมาเพียบค่ะ มีแม้กระทั่งคนที่เข้ามาเขียนว่า ป่าเถื่อนมาก ห้ามฆ่าแมวน้ำเด็ดขาด สมัยนี้แล้วทำไมไม่ไล่พวกนั้นให้ย้ายออกมาอยู่ที่ที่อากาศอุ่นทำไร่ทำสวนได้ จะได้ไม่ต้องไปกินแมวน้ำแบบนั้น เรื่องของชาวอินุทก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากเรื่องของชาวปกาเกอญอเลยค่ะ ผู้เขียนก็เปิดกว้างใครจะมาเขียนอะไรให้ความเห็นอย่างไรก็ได้เพราะแน่นอนว่า “ความขัดแย้งคือความจริง” และเราควรจะอยู่ร่วมกันได้ทั้งๆที่คิดต่างกัน พอมาอ่านบทสัมภาษณ์พะตีจอนิเลยอดคิดถึงเรื่องของชาวอินุทไม่ได้ ผู้เขียนจึงขอฝากทิ้งท้ายฉบับสิ้นปีนี้ว่า “อย่าเพิ่งมั่นใจกับข้อสรุปของคุณ และอย่าเพิ่งมั่นใจกับข้อสรุปของใครๆเพราะโลกนี้มันหลากหลายนัก” รวมทั้งผู้เขียนเองก็เช่นกันค่ะจะคอยใช้คำพูดของพะตีเตือนใจให้บ่อย ยังมีอะไรอีกมากมายนักที่เราไม่รู้ เรียนรู้ให้มาก ฟังให้มาก ทำใจให้อ่อนพร้อมรับความเห็นผู้อื่นไว้ ขอให้ปีใหม่นี้อีโก้ของเรามันเล็กลง เล็กลงไปเรื่อยๆ เพื่อตัวเราเอง เพื่อคนรอบข้าง เพื่อ ในหลวง เพื่อเมืองไทย เพื่อโลกของเรา ดีมั้ยคะ


ผู้เขียนตั้งใจพลิกหนังสือชื่อ “หมอก” ของคุณทรงกลด บางยี่ขัน ดูเพียงคร่าวๆแต่ก็ต้องมาหยุดที่หน้าที่มีข้อความข้างต้นแล้วอ่านต่อรวดเดียวจนจบบท ข้อความดังกล่าวนั้นเป็นคำพูดของ จอนิ โอ่เดชา ปราชญ์ผู้เฒ่าชาวปกาเกอญอ หรือที่คนไทยส่วนมากเรียกกันติดปากแบบเหมารวมว่า กะเหรี่ยง นั่นเอง ผู้เขียนดีใจมากที่ได้อ่านคำสัมภาษณ์ของผู้เฒ่าจอนิ เพราะเมื่ออ่านจบแล้วมันทำให้รู้สึกว่าอีโก้ที่มักพองโตแบบไม่ให้เรารู้ทันได้ถูกเจาะให้แฟบเล็กลงซะทีสองที
พะตี (แปลว่าลุง) สอนไว้ว่า “ อย่าเพิ่งมั่นใจกับข้อสรุปของคุณ และอย่าเพิ่งมั่นใจกับข้อสรุปของใครๆเพราะโลกนี้มันหลากหลายนัก ” พะตีบอกว่า “เฮาต้องเข้าใจว่าความขัดแย้งนี้แหละคือความจริง โลกที่ขัดแย้งกันนี้แหละคือโลกที่แท้จริง” ชาวปกาเกอญอ เรียกโลกนี้ว่า ที่ร้องไห้ ใครเกิดมาที่นี่แล้วไม่ร้องไห้ ไม่เจอปัญหา ไม่เจอความขัดแย้ง ไม่มี “นี่แหละความจริง”

พะตีเป็นหลักฝ่ายบุ๋นช่วยในการต่อสู้กับรัฐที่มองว่าชาวปกาเกอญอบุกรุกทำลายป่า ทั้งๆที่พวกเขาอยู่กับป่า ผูกพันกับป่า เอาวิถีธรรมชาติมาดูแลธรรมชาติสืบเนื่องกันมา 300 กว่าปีแล้ว พะตีบอกว่าถ้าที่ทำมามันผิด ป่าก็คงหมดไปนานแล้ว “เรื่องบางเรื่อง ประเด็นบางประเด็น สายตาของคนเมืองที่มองผ่านตำราอาจเชื่อมั่นกับข้อสรุปบางอย่าง” ผู้เฒ่าปกาเกอญอพูดไว้อย่างนั้น “ เฮาเชื่อว่าถ้าทำลายธรรมชาติหมดก็เท่ากับทำลายวิญญาณของเฮาด้วย วิญญาณของเฮามี 37 ขวัญ อยู่ที่เฮา 5 ขวัญ ที่เหลืออยู่ใน ต้นไม้ ปลา หมา นก กวาง กิ้งกือ หมูป่า ฯลฯ พะตีบอกว่าเราต้องรู้จักต้นไม้ ต้องรู้จักสัตว์ ไม่ใช่แค่รู้ว่าหมูป่าอร่อยก็กินๆโดยที่ไม่รู้จักดูแลหมูป่า รู้ว่าปลาอร่อยก็กิน แต่ไม่รู้จักดูแลปลา

ผู้เขียนเองเคยเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการล่าแมวน้ำไว้ในบล็อกโดยที่ได้ตั้งคำถามให้ผู้อ่านฉุกคิดว่าที่เรามักต่อต้านการล่าแมวน้ำเมื่อได้รับอีเมลฟอร์เวิร์ดกันนั้นเป็นเพราะอะไรกันแน่ เพราะมันเป็นสัตว์ใหญ่? เพราะรูปลูกแมวน้ำที่ส่งมากับอีเมลมันหน้าตาน่ารัก? แล้วมันมีมุมมองอื่นหรือไม่ ทำไมชาวประเทศแคนาดาส่วนมากไม่ต่อต้านการล่าแมวน้ำของชาวอินุท (หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ เอสกิโม) ผู้เขียนได้ให้ลิงค์และข้อมูลจากมุมมองของชาวอินุทและรัฐบาลแคนาดาให้ผู้อ่านอ่านเปรียบเทียบ เช่น จริงๆมันมีกฎหมายควบคุมอยู่แล้วว่าห้ามล่าลูกแมวน้ำ ต้องล่าอย่างยั่งยืนและคนที่ฆ่าด้วยวิธีที่ทารุณโหดร้ายก็จะต้องโดนลงโทษ แต่ให้เลิกล่าเลยคงเป็นไปไม่ได้เพราะจากบริบทตรงนั้น มันเป็นวิถีชีวิตมีความหมายด้วย ปรากฏว่ามีคอมเม้นท์กลับมาเพียบค่ะ มีแม้กระทั่งคนที่เข้ามาเขียนว่า ป่าเถื่อนมาก ห้ามฆ่าแมวน้ำเด็ดขาด สมัยนี้แล้วทำไมไม่ไล่พวกนั้นให้ย้ายออกมาอยู่ที่ที่อากาศอุ่นทำไร่ทำสวนได้ จะได้ไม่ต้องไปกินแมวน้ำแบบนั้น
เรื่องของชาวอินุทก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากเรื่องของชาวปกาเกอญอเลยค่ะ

ผู้เขียนก็เปิดกว้างใครจะมาเขียนอะไรให้ความเห็นอย่างไรก็ได้เพราะแน่นอนว่า “ความขัดแย้งคือความจริง” และเราควรจะอยู่ร่วมกันได้ทั้งๆที่คิดต่างกัน พอมาอ่านบทสัมภาษณ์พะตีจอนิเลยอดคิดถึงเรื่องของชาวอินุทไม่ได้
ผู้เขียนจึงขอฝากทิ้งท้ายฉบับสิ้นปีนี้ว่า “อย่าเพิ่งมั่นใจกับข้อสรุปของคุณ และอย่าเพิ่งมั่นใจกับข้อสรุปของใครๆเพราะโลกนี้มันหลากหลายนัก” รวมทั้งผู้เขียนเองก็เช่นกันค่ะจะคอยใช้คำพูดของพะตีเตือนใจให้บ่อย ยังมีอะไรอีกมากมายนักที่เราไม่รู้ เรียนรู้ให้มาก ฟังให้มาก ทำใจให้อ่อนพร้อมรับความเห็นผู้อื่นไว้ ขอให้ปีใหม่นี้อีโก้ของเรามันเล็กลง เล็กลงไปเรื่อยๆ เพื่อตัวเราเอง เพื่อคนรอบข้าง เพื่อ ในหลวง เพื่อเมืองไทย เพื่อโลกของเรา ดีมั้ยคะ

0 ความคิดเห็น: