วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

...เรื่อง ทันตาภิบาล 4 ปี : เสียงกระซิบจากสายลมปลายฝนต้นหนาว...


เรื่องบทบาททันตาภิบาลนั้น สมัยก่อนพี่เข้าไปต่อสู้ให้ทันตาภิบาลสามารถทำงานได้เท่าที่เขาทำในปัจจุบัน เเละทำให้ร่าง ทันตาภิบาลสี่ปีเข้าไปในทันตแพทยสภา อย่างที่เรียนให้ทราบว่าสภามีอาจารย์มหาวิทยาลัย 10 ท่าน เอกชน 8 ท่าน เเละตัวเเทนจากรพ. รัฐส่วนภูมิภาค 4 คน 2 คนมาจากโรงพยาบาลจังหวัด ดังนั้นไม่เห็นทางออกเลยว่าจะ ทำให้บทบาทที่เป็นจริงของทันตาภิบาลผ่านยังไง (นอกจากอนาคตมีการปรับโครงสร้างสภาฯเเละให้ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมซึ่งจะมีข้อดีเเละข้อจำกัด เเตกต่างกับสภาพที่เป็นอยู่ค่ะ)

ที่บรรยายมายืดยาวก็เลยจะเล่าว่าตอนนี้เลยกำหนดบทบาททันตาภิบาลให้น้อยลงดังที่เห็น เพราะคิดว่าต้องหาทางทำให้หลักสูตรผ่าน ทำให้ทันตาภิบาลที่ทำงานมานานมีทางก้าวหน้าก่อนเเล้วค่อยมาว่ากันใหม่ ว่าเด็กรุ่นจบออกมาจะทำอะไรได้บ้าง ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภค รักษาสิทธิประชาชนมันจะไปได้ถึงไหนน่ะค่ะ องค์กรที่เข้าใจทันตาภิบาลอย่างดีคือสปสช. เพราะส่วนมากมาจากสายเเพทย์ชนบท ทำงานจากรพช.สมัยก่อนๆ รู้ดีว่าปากประชาชนต่างจังหวัดฝากกับทันตาภิบาลเพียงใด (อนาคตทันตแพทย์อาจทำรักษาราก ทำรากฟันเทียมในรพช. เเล้ว งานรักษาพื้นฐานที่ครอบคลุมความต้องการร้อยละ70 อาจตกในมือทันตาภิบาลก็เป็นได้)

จริงเเล้วหากชมรมทันตภูธรเสนอข้อกังวลถึงความเพียงพอของ supply ที่จะมีต่อการบริการประชาชนไว้ส่วนนี้ก็ยังได้ค่ะ เท่าที่ทราบนั้นอาจารย์เขาคำนวณกัน เขาว่าในสิบห้าปี ทันตแพทย์จะเกิดพอเพราะเราผลิตด้วยอัตราเพิ่มมากกว่า การเพิ่มของประชาชน ปีละ 200 คน อย่างไรก็ตามหากการรับเด็กเข้าทันตแพทย์ยังไม่ได้เป็น community base เหมือนการรับทันตาภิบาลเข้าเรียน การเกิดสมองไหลกลับบ้านก็จะเกิดดังที่เห็นๆกันนี่ล่ะค่ะ ส่วนนึงที่อยากให้เราทำเพื่อช่วยพี่น้องทันตาภิบาลระยะสั้นคือเรื่องค่าตอบเเทนนอกเวลาราชการ ที่จะทำให้เขาไม่ต้องดิ้นรนไปทำคลินิกให้ทันตแพทย์นอกเวลา ( ซึ่งมันผิดกฎหมาย มีทำกันหลายที่ เพราะค่าตอบเเทนในภาครัฐสุดต่ำในขณะที่ค่าตอบเเทนในภาคเอกชนถึงเเม้ผิดกฎหมาย โดนกดค่าเเรงเเล้วก็ยังสูงกว่าภาครัฐมากมายนัก )



พี่เองทำงานในพื้นที่ พยายามจินตนาการว่าเราจะทำงานโดยไม่ให้ทันตาภิบาลทำการรักษา เเละเข้าพื้นที่เพื่อทำงานเชิงรุกเเล้ว ลองขยับตามเพื่อทดลอง มันยากเอาการ คนลงเยี่ยมพื้นที่เพื่อให้ข้อมูล บ้านเขตเมืองประชาชนก็ไม่อยู่ เขาอยู่เขามีอาชีพเดิมข้าราชการเกษียณเป็นครูเป็นหมอ มั่ง ทันตาภิบาลเข้าไปเด็กเมื่อวานซืนไปทำอะไร น้องเองก็ไม่มั่นใจ ประชาชนเขาก็ไม่ไว้ใจให้เข้าบ้าน บ้านที่เข้าเปิดรับ เราก็กลัวเขาจะฉุดทันตาภิบาลเข้าไปเเล้วออกไม่ได้ ก็ต้องพยายามหาทางไป ที่พี่หนักใจเวลาคิดเรื่องนี้คือ เวลาคิดยุทธวิธีเขามักมาพร้อมกับเป้าที่ชัดเจน เเต่เราทำงานในพื้นที่ๆมีความต่างกันเหลือเกิน เราจะเอากรอบวัดกรอบเดียวมาใช้กับทุกที่ได้อย่างไร เเล้วเราจะตั้งเป้าเพื่อวัดการทำงานที่มีปัจจัยต่างกันอย่างมากไปเพื่ออะไร ตั้งเป้าชัดเจนมากดีในด้านการทำงาน เเต่มันเป็นการไปลดทอนความสามารถในการปรับตัวในการวางแผนให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ เข้ากับจุดอ่อนจุดเเข็งของทีมเรา เเละลักษณะพื้นที่ (ว่าเเล้วการวัดเชิงปริมาณมันได้ผลดีกับงานคลินิก เเต่งานเชิงรุกมันน่าจะวัดเชิงคุณภาพน่ะ เเต่เขาจะตั้งตัวชี้วัดยาก)



ประเด็น ทันตาภิบาล เน้นงานเชิงรุกและทำงานตามกรอบจริงๆ ที่ร.พ.ก็ทดลองทำมาได้ 18 วันแล้วค่ะ ตั้งแต่ตอนทราบเรื่องคุยกันภายในก่อนที่จะมีประเด็นนี้ชัดเจน ทันตาภิบาลชอบใจ แต่ทันตแพทย์หน้ายุ่งเลยค่ะ เพราะต้องรับงาน GP กลับมาทำเองเกือบหมด พอดีมีทันตาภิบาล 5 คน พื้นที่มี 5 ตำบล ช่วงหลังที่เริ่มชัดเจนก็ปรับโดยเอาเอกสารจากกองทันตะฯมากางแล้วลองวางแผนงานตามนั้นดู ตอนนี้ทดลองแบ่งงานกันคนละตำบลไปเลยเพื่อให้รับกับงบ ในระบบ area base จะได้ deal กับ อปท.องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นง่าย ชุมชนก็เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าทันตาภิบาลคนไหนกันแน่ที่ดูแลเค้าอยู่ ทันตาภิบาลเองก็จะได้หัดทำงานเป็นระบบเพราะทำเป็นพื้นที่ ทุกงาน ทุกกลุ่มเป้าหมาย )

จากเดิมที่เคยมี PCU คือเฉลิมพระเกียรติได้ ทันตาภิบาลไปประจำทุกวัน และอีก PCU ที่เราส่งคนไปประจำ 3 วัน หัวหน้าสอ.อยากให้ไปประจำทุกวันเหมือนๆ กัน พอได้ประชุมกัน ฝ่ายทันตฯร.พ. แจ้งชัดๆไปเลยค่ะ บอกว่า "ไม่รู้จะเป็นการดับฝันกันหรือเปล่า เพราะแม้จะรับปากได้ว่าจะส่งไปอย่างน้อยแห่งละ 3 วันเท่าเดิม แต่จะทำงานรักษาอย่างที่ประชาชนคาดหวังไม่ได้แล้ว พื้นที่อาจต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์นี้ และอธิบายประชาชนให้ได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นจึงส่งผลถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ ( ไม่มีใครอยากเป็นผู้อธิบายแน่ค่ะ) คือออกไปทำงานในชุมชนจริงอยู่ แต่ทำงานเชิงรุกส่งเสริมป้องกันนะคะ ..ทำฟันให้คนไข้ไม่ได้แล้วค่ะ ฯลฯ" คงนึกหน้าคนที่ฟังอยู่ทุกคน (ยกเว้นคนพูด) ในที่ประชุมออกนะคะว่าจะอารมณ์ไหน...สรุปว่า....งานนี้ลูกน้องทุกคนสนุกค่ะ แต่คนที่เหลือ????ทำท่าจะชักใบให้เรือเสียหรือเปล่าเนี่ยนะเรา ??? ไปดีก่า...... > sweet cheese




อืม..เรียน 4 ปีแล้วทำงานได้น้อยลง...ประเสริฐนักแล...อีพวกทันตแพทย์เด็กน้อยมันคงลาออกเป็นเทือกแน่ๆ มองในแง่ดี……..ทันตแพทย์แก่ๆอาจได้เงินเดือนพิเศษเพิ่ม -คิดชั่วนะเนี่ย -------------- อาเมน ลูกช้างเซร็งงงง


6 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การที่ทันตาภิบาลจะทำงานตามกรอบจริงๆมันยากมากสำหรับในโรงพยาบาลชุมชนที่มีทันตแพทย์เพียงคนเดียว เพราะแค่ทันตาคุยกับหมอว่าจะขอทำงานตามกรอบแค่นั้นแหละ คุณหมอบอกว่าจะลาออกเลย แล้วจะให้ทันตาทำไงดี ถ้าเป็นแบบนั้นชาวบ้านก็จะไม่มีโอกาสได้ทำฟันปลอมหรือผ่าฟันคุดเลย ทันตาก็ต้องทำงานเกินหน้าที่ต่อไปโดยถูกทันตแพทย์บางคนที่ไม่เข้าใจในสถานการณ์ว่าก็คุณอยากทำเอง ทันตแพทย์ในสภาบางคนบอกว่าเมื่อคุณรู้ว่ากรอบคุณอยู่แค่ไหนคุณก็ทำแค่นั้นสิ โดยที่ทันตแพทย์ไม่ได้มาสัมผัสกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงเลย มีแต่นั่งในห้องแอร์แล้วก็คิด และฟังเค้าบอกต่อมาแค่นั้น แต่ก็ขอบคุณทันตแพทย์ที่ร่วมงานทุกคนค่ะที่ไม่เคยดูถูกทันตาภิบาลเลย
จากทันตาภิบาลคนหนึ่ง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผลิตทันตาภิบาล 2 ปีมาเพื่ออะไรแสนทำงานเหนื่อยแต่ไม่เคยได้อะไรเลยถ้าจะคิดผลิตทันตาภิบาล 4ปีก็ควรให้เขาได้มีใบประกอบวิชาชีพเหมือนกับพยาบาลบ้าง เมื่อเรยน 4ปีเท่ากัน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ควรเพิ่มหลักสูตรวิชาคุณธรรมเข้าไปในการเรียนของทันตแพทย์ด้วยหากทันตแพทย์ทุกท่านมีจิตสำนึกที่ดีไม่เข้าข้างตัวเองเกินไปจะรู้ในทันทีว่าทุกวันนี้ทันตาภิบาลทำงานล้นกรอบและทันตแพทย์ทำงานไม่เต็มกรอบจะมีสักกี่รพ.ที่คนไข้มาถึงแล้วทันตแพทย์ทำเองไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ทันตาภิบาลรับหน้าทั้งนั้นทันตแพทย์ส่วนใหญ่รอทำเฉพาะงานยากๆเช่นRCT/งานฟันปลอมซึ่งทันตาภิบาลไม่ได้เรียนมาแต่ทำไมงานถอนฟันผู้ใหญ่ซึ่งทันตาภิบาลไม่ได้เรียนมาถึงไม่ทำบ้างพอเกิดเหตุฟ้องร้องขึ้นมาทันตแพทยสภามาบอกว่าก็คุณทำงานเกินกรอบมันถูกต้องแล้วหรือที่คิดกันเช่นนี้ทุกคนที่เรียนมาทั้งทันตแพทย์และทันตาภิบาลก็เรียนมาเพื่อรักษาคนป่วยและให้ความรู้กับคนที่ไม่รู้เรียนมาเพื่อพัฒนาประเทศชาติมิใช่หรือ..หรือว่าเรียนมาตั้งมากมายแค่พัฒนาจิตสำนึกของตัวเองก็ยังทำไม่ได้
ทันตแพทย์ที่ดีก็มีทันตาภิบาลที่ไม่ดีก็มี
หากทุกคนทำงานตามกรอบจริงๆปัญหาคงไม่เกิด

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทันตาภิบาลที่จบสาธารณสุขศาตร์(ทันตสาธารณสุข)จาก มสธ แล้วต้องไปเรียนต่อหลักสูตรต่อเนื่องสองปีที่กำลังเปิดใหม่หรือไม่ ถ้าไม่เรียนต่อจะมีหลักสูตรอบรมระยะสั้นหรือไม่ เพื่อให้มีคนทำงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้รู้หรือมีความเห็นอย่างไรขอความอนุเคราะห์ตอบ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ขอบคุณค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทันตารุ่นเก่าหนีไปเป็นนักวิชาการหลายคนก็เพราะต้องการความก้าวหน้าในอาชีพ เมื่อคิดจะให้ความหวังใหม่ที่ทุกคนรอคอยมานานก็ขอให้ด้วยความเต็มใจด้วยเถิดเพราะทันตาภิบาลทุกคนก็อยากมีความก้าวหน้าในวิชาชีพของตนเองเเละมีกำลังใจทำงาน เพราะจริงๆแล้วก็ทำงานเกินขอบเขตอยู่เเล้วแม้แต่ผู้ช่วยไม่เห็นต้องมาลงแรงอะไรก็ได้ซี 6 เท่ากันทั้งที่start c 1 เท่านั้นยังไม่พอตอนนี้มาให้ตำเเหน่ง จพง. อืกมันไม่ยุติธรรมเลยนะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทันตาภิบาลควรทำงานตามกรอบที่กฎหมายกำหนด ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองโปรดรู้ด้วยว่ากรอบการทำงานของทันตาภิบาลมีแค่ไหน ต้องช่วยกันดูแลอย่าให้เขาต้องทำงานเกินกรอบที่กำหนด
ในปี ๒๕๕๘ (ประชาคมอาเซี่ยน) อาจมีทันตแพทย์เข้ามาทำงานมากขึ้น หรือทันตแพทย์ของเราจะไหลออกก็ไม่รู้ ถ้ามีมันตแพทย์เข้ามาทำงานมากขึ้น ทันตาภิบาลก็ทำงานได้ตามกรอบที่กำหนด แต่ถ้าทันตแพทย์ไหลออกไปมาก ทันตาภิบาลซึ่งไม่มีปัญญาจะไหลไปไหนเพราะไม่มีใบประกอบวิชาชีพก็จะต้องพบศึกหนัก ทันตาภิบาลต้องยืนยันมั่นคงที่จะทำงานตามกรอบเท่านั้น ถ้าจะให้ทำมากกว่านั้นก็แก้ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ปี ๒๕๓๙ ก่อน
เรื่องความก้าวหน้าของทันตาภิบาล ทั้งช้า ทั้งยากเย็นแสนเข็ญ ขอแนะนำว่าให้เรียนต่ออย่างน้อยปริญญาตรี แล้วเปลี่ยนสายงานไปซะ ก้าวหน้ากว่ากันแยะเลย