
โดย ทพ. กมล เศรษฐ์ชัยยันต์ หัวหน้างานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
เมื่อจะกล่าวถึงงานทันตสุขภาพของจังหวัดน่านแล้วงดเว้นไม่กล่าวถึงศูนย์ทันตสุขภาพ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ก็คงจะขาดลดอรรถรสไปไม่น้อย เปรียบเหมือนทานขนมจีน น้ำยาแต่ขาดเครื่องเคียงอย่างใดอย่างนั้น ด้วยศูนย์ทันตสุขภาพเป็นหน่วยงานพิเศษที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นศูนย์วิชาการในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของจังหวัดน่าน มีความพิเศษที่มี 3 หน่วยงานร่วมกันสนับสนุนการดำเนินงาน คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน,โรงพยาบาลน่าน และเทศบาลเมืองน่าน แค่หน่วยงานที่ร่วมจัดตั้งก็เห็นถึงความไม่ธรรมดา เพราะในหลายๆ จังหวัดหน่วยงานเหล่านี้ออกจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากันไม่น้อย
เมื่อจะกล่าวถึงงานทันตสุขภาพของจังหวัดน่านแล้วงดเว้นไม่กล่าวถึงศูนย์ทันตสุขภาพ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ก็คงจะขาดลดอรรถรสไปไม่น้อย เปรียบเหมือนทานขนมจีน น้ำยาแต่ขาดเครื่องเคียงอย่างใดอย่างนั้น ด้วยศูนย์ทันตสุขภาพเป็นหน่วยงานพิเศษที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นศูนย์วิชาการในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของจังหวัดน่าน มีความพิเศษที่มี 3 หน่วยงานร่วมกันสนับสนุนการดำเนินงาน คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน,โรงพยาบาลน่าน และเทศบาลเมืองน่าน แค่หน่วยงานที่ร่วมจัดตั้งก็เห็นถึงความไม่ธรรมดา เพราะในหลายๆ จังหวัดหน่วยงานเหล่านี้ออกจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากันไม่น้อย
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่านผู้ริเริ่มการจัดตั้งได้มีคำสั่งให้ยกฐานะศูนย์ทันตสุขภาพเป็นหน่วยงานพิเศษ มีฐานะเท่ากลุ่มงานหนึ่งของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน โดยรับผิดชอบ การบริหารจัดการ และบุคลากรทั้งหมด ปัจจุบันมีทันตบุคลากร 15 คน (ทันตแพทย์ 4 คน,นักวิชาการสาธารณสุข 1 คนเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 5 คน , ผู้ช่วยทันตแพทย์ 4 คน และ พนักงานอีก 1 คน) สำหรับโรงพยาบาลน่านได้สนับสนุนวัสดุทันตกรรมเพื่อให้บริการส่งเสริมป้องกันและบริการปฐมภูมิ ส่วนเทศบาลเมืองน่านได้อนุญาตให้ใช้อาคารของเทศบาลเป็นที่ตั้งของ ศูนย์ ทำให้ปัจจุบันมีประชาชนจำนวนไม่น้อยเรียกเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯเป็น หมอเทศบาลไปเสียแล้ว
บทบาทหน้าที่ของศูนย์ทันตสุขภาพได้ทำการศึกษา วิจัย พัฒนาการดำเนินงานทันตสุขภาพในกลุ่มเป้าหมายต่างๆตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงวัยทองของจังหวัดน่าน นอกจากนี้ได้ร่วมกับโรงพยาบาลน่าน ตามโครงการแก้ปัญหาทันตสุขภาพเขตเมืองน่าน เพื่อให้ศูนย์ทำการส่งเสริม ป้องกันและรักษาทางทันตกรรมแก่ประชาชนในอำเภอเมืองและกิ่งอำเภอภูเพียง โดยมีลักษณะเป็น เหมือนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลชุมชนเขตเมืองด้านทันตกรรม เนื่องจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน มีบุคลากรเชี่ยวชาญด้านทันตสาธารณสุข ขณะที่โรงพยาบาลน่านมีบุคลากร เชี่ยวชาญทันตกรรมเฉพาะทางเป็นหลักการดำเนินงานอาศัยแนวคิดใช้ปัญหาเป็นหลักมีทันตบุคลากรร่วมกันดำเนินงานไม่แบ่งแยกสังกัดนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ทำให้ศูนย์ฯมีพื้นที่การดำเนินงานที่ ชัดเจนทั้งในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งสองอำเภอ นอกจากนี้ยังเปิดให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชนทั่วไป เป็นการแบ่งเบาภาระการให้บริการทันตกรรมของโรงพยาบาลน่าน ที่มีผู้ป่วย ทันตกรรมจำนวนมาก พัฒนาระบบบริการทันตกรรมในคลินิก เช่นการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคในช่องปาก,ระบบนัดที่มีประสิทธิภาพและการให้ทันตสุขศึกษาที่เหมาะสมเฉพาะตนแก่ผู้มารับบริการทุกคน เป็นต้น
การดำเนินงานที่ผ่านมาศูนย์ทันตสุขภาพได้มีบทบาทการ เป็นศูนย์กลางดูแลงานทันตสุขภาพของจังหวัดน่าน ในการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานของทุกเครือข่ายบริการสุขภาพ โดยมี ลักษณะการทำงานแบบพี่-น้อง ลดความขัดแย้งและการร้องเรียนทางทันตกรรม เป็นศูนย์ฝึกทางทันตสุขภาพของจังหวัดไม่ว่าเป็นทันตบุคลากร,เจ้าหน้าที่สาธารณสุข,ครู,ผู้ดูแลเด็ก และนัก ศึกษาตลอดจนบุคลากรอื่นๆ อีกมาก สร้างฐานข้อมูลทางทันตกรรมในทุกอำเภอของจังหวัดน่าน มีผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพ ในพื้นที่ต่างๆ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการวิจัยเด็กระยะยาว 24 ปีเพื่อทราบข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่มีผลกระทบ เป็นต้น
ผลจากการดำเนินอย่างมุ่งมั่นและมีประสิทธิภาพนี้ทำให้ผู้บริหารให้ความไว้วางใจเป็นอันมากจึงได้งานโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพให้ดูแล รับผิดชอบทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2544 ต่อมาในปี 2546 ได้รับมอบหมายให้ดูแลงานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ของจังหวัดน่านอีกด้วย ทำให้ภารกิจที่ดำเนินงานในเด็กทั้งหลาย อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ทันตสุขภาพทั้งหมด สร้างความเป็นเอกภาพและ บูรณาการงานอย่างดี ในปี 2549 จังหวัดน่านได้รับรางวัลการดำเนินงานด้านเด็กดีเด่นระดับประเทศ (Child Watch) มีพิธีรับโล่ห์รางวัลจาก ฯพณฯนายกรัฐมนตรี นับเป็นความภาคภูมิใจของ ทีมงานเป็นอันมาก จึงมีผู้สนใจขอศึกษาดูงานเช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพ นำโดย นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ,สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน และ สถานีอนามัยอีกหลายแห่ง เพื่อนำรูปแบบที่ดำเนินการไปปรับใช้พัฒนางานในพื้นที่ของตนต่อไป
แม้ประสบความสำเร็จระดับหนึ่งเจ้าหน้าที่ศูนย์ทันตสุขภาพก็ยังคงไม่หยุดในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งหวังจะทำให้ทันตสุขภาพของประชาชนดีขึ้นเรื่อยๆจนสู่สุขภาพช่องปากดีถ้วน หน้าในที่สุดนั่นเอง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น